2022 ใครไม่รอด เราต้องรอด!

Publish date : 12/062565

Insights

วิกฤตโควิดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เล่นงานเกือบทุกธุรกิจ เกือบทุกกิจการ ส่งผลกระทบ ต่อประชาชนในวงกว้าง อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
สำหรับประเทศไทย แม้ดูเหมือนว่าวิกฤตินี้กำลังค่อยๆคลี่คลายและฟื้นตัว แต่กลับมีข่าวโควิดสายพันธ์ใหม่ โอไมครอน ซึ่งยากที่จะคาดเดาได้ว่าจะกระทบต่อประเทศไทยระดับไหน ที่ผ่านมามีหลายธุรกิจและกิจการ ที่ต้องปิดตัวลงถาวร อัตราคนว่างงาน ตกงาน ยังสูงอยู่และมีแนวโน้มจะลากยาว ซึ่งเป็นอุปสรรคหลักต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
หากมององค์ประกอบของกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย SMEs นับว่าเป็นองค์ประกอบหลักต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งยังไม่มีทีท่าจะดีขึ้นเท่าไหร่นัก นโยบายช่วยเหลือด้านเงินทุนหรือผ่อนผันหนี้ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมนักในแง่ของการพยุงธุรกิจของ SMEs และเมื่อคำนึงถึงประเทศไทยที่พึ่งพารายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นหลัก แม้จะคลายล็อกดาวน์ หรืออัตราฉีดวัคซีนจะสูงขึ้น แต่ก็ไม่สามารถพูดได้เต็มปากนัก ว่าเจ้าของกิจการจะฟื้นตัวได้ในเร็ววัน เพราะนักท่องเที่ยวคงยังไม่กลับมาจับจ่าย อุตสาหกรรมคงยังไม่สะพัดนัก
ท่ามกลางสถานการณ์โควิด หลายคนผันตัวไปเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ สร้างเม็ดเงินกันไม่น้อย สอดคล้องรับกับภาวะ new normal คนอยู่บ้าน shopping online แต่มีใครพูดถึง หรือออกนโยบายรับมือสินค้าจากจีนที่ทะลักเข้ามาแล้วรึยัง เรียกได้ว่า door to door กับจากหน้าโรงงานในจีนส่งตรงถึงผู้บริโภคคนไทยอย่างง่ายๆสบายๆ วงโคจรนี้ แทบจะเป็น Absolute Business Ecosystem หรือ ระบบนิเวศธุรกิจแบบสมบูรณ์ ของธุรกิจจากจีน ที่มีรายได้น้อยมากเล็ดลอดมาถึงมือผู้ประกอบการไทย
นับตั้งแต่ การผลิต, การขนส่ง, การโปรโมท, ช่องทางการขาย แทบจะถือครองโดยต่างชาติแทบทั้งสิ้น
มุมที่โดนกระทบรุนแรงที่สุด คงไม่พ้น เจ้าของสินค้า หรือพ่อค้าแม่ค้า คนไทย ที่ไม่สามารถแข่งราคา หรือบริการครอบจักรวาลได้อย่างองค์กรใหญ่ๆ
ปัยจัยประเทศไทยปี 2022 ที่เราต้อง “พา-รา-นอยด์”
เศรษฐกิจที่ซบเซา บวกกับวิกฤตโรคระบาดที่ต่อเนื่องยาวนานกว่า 2 ปี ทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก หรือ ที่เราเรียกว่า SMEs ต่างได้รับผลกระทบอย่างหนัก เป็นที่มาที่ทาง MI GROUP ในฐานะเอเจนซี่ ที่ให้คำปรึกษาและช่วยวางแผนกลยุทธ์การตลาดและสื่อสารการตลาด ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดทำโปรเจ็คพิเศษ รวบรวมและสรุปเช็คลิสต์เทคนิคสำคัญๆ เพื่อให้นักการตลาดและผู้ประกอบการร่วมตีโจทย์และหาทางรอดของธุรกิจด้วยไปด้วยกัน
5 ปัจจัยพารานอยด์ปี 2022  
  1. อัตราว่างงานสูง โดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่ คาดการณ์ว่าปี 2022 อัตราว่างงานอาจแตะ 2 ล้านคน หรือ 3% ของประชากรไทย ถือว่าเป็นตัวเลขสูงเป็นประวัติการณ์
  2. ความยากลำบากการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ การอนุมัติสินเชื่อยากขึ้น ทั้งบุคคลและ SMEs เพราะสถาบันการเงินกลัวหนี้สูญจาก ทำให้ SMEs ขาดเงินทุนพยุงหรือฟื้นธุรกิจ ที่จะช่วยต่อลมหายใจให้ทำธุรกิจต่อไปได้
  3. นักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่กลับมา คาดการณ์ ปี 2022 นักท่องเที่ยวต่างชาติ กลับมาไม่ถึง 30% หรือต่ำกว่า 10 ล้านคน เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิดที่มีจำนวน 40 ล้านคน อุตสาหกรรมท่องเที่ยวส่งผลต่อจีดีพี ราว 10%  จึงกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
  4. สินค้าจีนทำสงครามราคาเดือด เมื่อเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวในปี 2022 บวกกับสินค้าจากจีนทะลักเข้าไทย ทำให้เกิดภาวะสงครามราคา
  5. ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม การเมืองและความเหลื่อมล้ำ
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://youtu.be/GiElAMBqP7M